วิธีคิดแบบผิดๆในการสร้างเครดิตทางการเงิน
1.จำนวนบัตรเครดิต ช่วยเพิ่มเครดิตทางการเงินต่อสถาบันการเงิน หลายคนมีความเชื่อที่ว่า จำนวนบัตรเครดิตเยอะ ๆ จะช่วยเพิ่มคะแนนเครดิตให้กับเรา ซึ่งนั่นอาจจะถูกแค่ครึ่งหนึ่ง เพราะจำนวนบัตรเครดิตที่เยอะ ไม่ได้ส่งผลต่อคะแนนของคุณในระยะยาว แต่หากบัตรเครดิตแต่ละใบมียอดคงค้างชำระอยู่มาก การมีบัตรเครดิตเยอะก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มคะแนนเครดิตอย่างไร ซ้ำยังลดทอนคะแนนเครดิตของเราไปอีกด้วย ดังนั้นหากใครที่มีบัตรเครดิตอยู่หลายใบ และอยากจะสร้างคะแนนเครดิตที่ดี ควรจะชำระยอดหนี้คงค้างในแต่ละใบให้ครบทั้งหมด นั่นถึงจะเป็นส่วนช่วยเพิ่มคะแนนเครดิตให้แก่เรา 2.การประเมินเครดิตทางการเงินของสถาบันการเงินขึ้นอยู่กับลักษณะผู้กู้ หากมีคนบอกเราว่า การสร้างคะแนนเครดิตจะขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ภายนอก นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมหันต์ เพราะสถาบันทางการเงินจะตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางเครดิตของเราจากเอกสารประวัติทางการเงิน และเอกสารประกอบการกู้อื่น ๆ เช่น สลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชีย้อนหลัง ภาระหนี้ การค้างชำระหนี้ ซึ่งคะแนนเครดิตของเราจะเพิ่มหรือลดขึ้นอยู่กับเอกสารเหล่านี้ ไม่ใช่ภาพลักษณ์ภายนอกแต่อย่างใด 3.การปิดบัตรเครดิตใบเก่าแล้วเปิดใบใหม่ สามารถเพิ่มเครดิตทางการเงินต่อสถาบันการเงินได้ ระยะเวลาในการค้างชำระหนี้ และการปิดหนี้มีผลต่อคะแนนเครดิตของเรา กลับกันในความเชื่อที่ว่าการค้างชำระหนี้มาระยะยาวนาน แล้วพอจะสร้างคะแนนเครดิตด้วยการปิดหนี้บัตรเครดิตใบเก่าแล้วเปิดบัตรใบใหม่จะช่วยสร้างเครดิตทางการเงิน ซึ่งนั่นถือเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการค้างชำระหนี้นาน ๆ ย่อมส่งเสียต่อคะแนน และเครดิตของเรามากกว่า ซึ่งอาจส่งผลให้เราขอสินเชื่อได้ยากขึ้น ดังนั้นทางที่ดีเราควรชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลา เพื่อไม่ให้เกิดหนี้คงค้างจะดีที่สุด 4.เครดิตทางการเงินของคู่สมรส
วิธีการสร้างเครดิตสกอริ่ง ให้กู้เงินผ่านฉลุย
เคลียร์หนี้ก้อนเก่า ไม่สร้างหนี้ก้อนใหม่เพิ่ม ยอดหนี้ค้างชำระของหนี้เก่า จะเป็นตัวบ่งชี้ได้เลยว่าเรามีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ไหม่ในอนาคต เมื่อเทียบรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือน และถ้ายังไม่หยุดสร้างหนี้ใหม่ จะมียอดที่ค้างชำระสูง และสภาพคล่องไม่ค่อยดีนัก ซึ่งก็อาจทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับเรา และเราก็จะพลาดโอกาสในการที่จะได้สินเชื่อ ชำระหนี้ตรงเวลา ต้องจำวันครบกำหนดชำระหนี้ให้แม่นยำ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในทุก ๆ เดือนจะมีระยะเวลาในการชำระหนี้ ควรที่จะชำระภายในเวลาที่กำหนด แต่ถ้าเราชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หรือชำระล่าช้าไปกว่ากำหนดก็จะต้องเสียดอกเบี้ย ค่าปรับ และสถาบันการเงินจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าเรามี เครดิตสกอริ่ง ดีมากน้อยจากพฤติกรรมในการชำระหนี้ และถ้าเราไม่ยอมชำระหนี้ รูดบัตรเพิ่มหนี้ใหม่เข้าไปอีก เครดิตเราก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะรายจ่ายมากกว่ารายได้ จ่ายเต็มหรือให้เกินขั้นต่ำ การจ่ายน้อยกว่าขั้นต่ำจะมีดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายเพิ่ม และมันบ่งชี้ให้เห็นเลยว่าเรายอมที่จะเสียดอกเบี้ยแพงเพราะสภาพคล่องเราไม่ดี หมุนเงินไม่ทัน ตามปกติเราไม่อยากเสียดอกเบี้ยที่แพง แต่ที่เรายอมจ่ายดอกเบี้ยเพราะเรามีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินมีโอกาสมองเห็นจุดนี้ และถ้าจะขอสินเชื่อที่ก้อนใหญ่ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์
วิธีการตัดสินใจด้วยกฎ 10 10 10
ในชีวิตของเราต้องมีเรื่องให้ตัดสินใจนับไม่ถ้วน แต่หลายๆครั้งเราก็ยังลังเลว่าควรจะตัดสินใจอย่างไรดี เพราะในการติดสินใจในแต่ละครั้งนั้นมักส่งผลต่อชีวิตเราเองโดยตรง ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีตัดสินใจตามกฎ 10-10-10 โดยเมื่อถึงเวลาที่เราจะตัดสินใจให้เราแบ่งการตัดสินใจนั้นออกเป็น 3 ช่วงเวลา จะช่วยให้เราประเมินการตัดสินใจของตัวเองจากมุมมองที่แตกต่างกันสามแบบทำให้เรามองภาพรวมได้ดังนี้ เราจะรู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจนี้ภายใน 10 นาที โดย 10 นาทีจากนี้เป็นการมองที่ปัจจุบัน เราจะประเมินได้เลยว่าเราจะรู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจนี้ในทันที ชอบหรือไม่ชอบ ดีหรือไม่ดี เราจะรู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจนี้ในอีก 10 เดือนข้างหน้า จะเป็นการมองภาพระยะกลาง เราจะเริ่มเห็นผลกระทบจากการตัดสินใจของเราแล้วว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้างในอนาคตข้างหน้าอย่างไม่ไกลเกินไป เราจะรู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจนี้ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเหมือนการทำให้ถอยออกมามองสถานการณ์ปัจจุบันในมุมที่กว้างกว่าเดิมมาก โดยปราศจากอารมณ์ชั่ววูบ เพราะว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะรู้ได้เลยว่าการตัดสินใจของเรานั้น จะสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่มากขนาดไหนให้กับตัวเราในอนาคตข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราตัดสินใจกินข้าวกะเพราเป็นข้าวกลางวันมันคงไม่มีผลอะไรมากในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ถ้าเราเลือกที่จะลาออกจากงานประจำ มันก็อาจจะมีผลกระทบกับชีวิตของเราเป็นอย่างมากในอีก 10 ปีข้างหน้านั่นเอง หลักสำคัญของกฎ
วางแผนการเงินฉบับพนักงานประจำ
การวางแผนการเงินเป็นเรื่องสำคัญ ที่ไม่ว่าช่วงวัยไหนก็ควรให้ความสำคัญ ยิ่งเมื่อเราเริ่มทำงานมีรายได้ในบทความนี้จะมาแนะนำว่าเรื่องใดบ้างที่ควรให้ความสำคัญในการวางแผนการเงินแบบฉบับพนักงานประจำ 1.การบริหารเงินเดือน การบริหารจัดการเงินเดือนให้เพียงพอใช้ในแต่ะเดือนถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะคนส่วนใหญ่มักจะพึ่งรายได้จากงานประจำ แต่ส่วนน้อยที่จะหางานเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ดังนั้นการบริหารจัดการเงินเดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากหากใช้แบบไม่บริหารจัดการในแต่ละเดือนอาจไม่พอใช้จ่ายและทำให้ต้องไปก่อหนี้ใหม่เพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2.ภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่มีรายได้ เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรรู้ เพราะหากไม่ใส่ใจและโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ นอกจากนี้แล้วยังควรรู้วิธีการในการคำนวณ เพื่อให้เราสามารถวางแผนในการลดหย่อนภาษีจะทำให้เราช่วยประหยัดเงินในส่วนนี้ไปได้มาก 3.การจัดการหนี้ การเป็นหนี้ไม่ได้แย่ แต่ต้องรู้จักวิธีบริหารจัดการ และการจ่ายหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ ก่อนก่อหนี้ควรศึกษาเงื่อนไขของการกู้นั้นๆ ศึกษาข้อมูลการคิดดอกเบี้ย ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่พนักงานควรรู้เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา ปัญหาหนี้จะทำให้ไม่มีสมาธิและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 4.สวัสดิการในการรักษาพยาบาล สิ่งที่เราควรรู้อีกเรื่องเลยนั้นก็คือสวัสดิการในการรักษากรณีที่เราเข้าโรงพยาบาล เพราะเหตุการที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เราจึงต้องทราบว่าเรามีสวัสดิการในส่วนนี้อย่างไรบ้าง แล้วเราควรเพิ่มความคุ้มครองในการรักษาตรงนี้อย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องทางการเงินหากเกิดต้องรักษาพยาบาลจริงๆ ที่มา: https://moneyclass.co/วันที่สืบค้น 13 กค.66
ความแตกต่างระหว่างข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
ข้อมูลเครดิต ข้อมูลเครดิต คือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และจะปรากฎในรายงานข้อมูลเครดิตเมื่อมีผู้ขอเรียกดู โดยมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 3 ปี ข้อมูลเครดิตจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้าเช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมทั้งสถานะบัญชี รายงานข้อมูลเครดิตมีสำคัญ ที่แสดงในเรื่องของการแสดงประวัติการชำระหนี้ที่สะท้อนถึงพฤติกรรม และวินัยทางการเงิน และประวัติการชำระหนี้ที่ตรงต่อเวลา เพิ่มความน่าเชื่อถือในการยื่นขอสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน เครดิตสกอริ่ง เครดิตสกอริ่ง หรือคะแนนเครดิต คือ เครื่องหมายหรือตัวเลขที่เป็นผลรวมจากการประเมินทางสถิติของลูกค้า มีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้ อันเป็นผลมาจากประวัติการก่อหนี้ และการชำระหนี้ของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
7 วิธีสร้างความสุขกับการดูแลตัวเอง
ลดความไม่มั่นใจ การรู้สึกไม่มั่นใจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทุกคนล้วนมีเรื่องไม่มั่นใจ ลองสำรวจดูว่าเราไม่มั่นใจในเรื่องอะไร แล้วสรุปรายการ และตรวจสอบดูว่าเราสามารถแก้ไขได้ไหม เพราะจริงๆไม่มีใครสมบูรณ์แบบ จะได้ไม่คิดมากจนเกินไป พูด ขอบคุณ เสมอ คือกุญแจสำคัญของความสุข จะช่วยให้เราตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่มากกว่าจะไปหมกหมุ่นถึงสิ่งที่ขาดและอยากได้มา ลองมองดูสิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้สิ แม้นาฬิกาที่สวมจะคู่เก่าไปบ้าง แต่อย่างน้อยมันก็บอกเวลาได้ตรงเสมอ ในทุกๆ วัน ทำให้ไม่พลาดเวลาที่สำคัญ เรียนรู้ที่จะยอมรับคำขอโทษ ไม่มีใครไม่เคยพลาดพลั้ง หากเพื่อนหรือคนสำคัญเดินเข้ามาขอโทษอย่างจริงใจ เพราะพวกเขาทำบางอย่างลงไป จงยกโทษและให้อภัย รู้สึกหัวใจกำลังพองโต เพราะการให้อภัยเป็นคุณลักษณะของคนเข้มแข็ง ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กินอาหารอร่อยแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ ร่างกายก็ย่ำแย่ พอร่างแย่ ใจก็ไม่เบิกบาน ลองหันมาทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน ลดมัน ลดรสจัด ทานผักและผลไม้ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอย่างพอดี จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ขับถ่ายสะดวก
6 เทคนิคเพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตมากขึ้น
การควบคุมตารางเวลาของตัวเอง คนที่มีความสุขจะรู้สึกว่าชีวิต จะแบ่งเวลาออกเป็นส่วน ๆ โดยปฎิบัติตามเป้าหมายว่า วันนี้จะทำอะไรบ้าง เช้าทำอะไร เย็นทำอะไร แล้วก็ทำตามตารางที่วางแผนไว้ในแต่ละวัน จะรู้สึกว่า เราสามารถทำอะไร ๆ ได้มากมาย หลายอย่างและตามเป้าหมาย ทำตัวให้มีความสุข โดยการยิ้ม เราจะมีความรู้สึกมีความสุขมากขึ้น แต่ถ้าเราหน้าบึ้ง หน้างอ ก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ไม่น่าอยู่เลย เพราะฉะนั้นอยากมีความสุขก็ให้ยิ้มเข้าไว้ การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ คนที่มีความสุขนั้นนอกจากจะเป็นคนสดชื่นกระปรี่กระเปร่าแล้ว ถึงเวลาพักก็ต้องพักเต็มที่เพื่อเติมพลัง ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย เฉื่อยชาและอารมณ์เสียง่าย การให้ความสำคัญกับคนใกล้ชิด ด้วยการแสดงความรักให้อีกฝ่ายรับรู้ อย่าคิดว่าอยู่กันมานานรู้ใจกันอยู่แล้ว หมั่นแสดงน้ำใจต่อคนใกล้ชิดเหมือนที่แสดงความมีน้ำใจกับผู้อื่น ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันและเติมความรักอยู่เสมอ ใส่ใจผู้อื่นให้มากกว่าตัวเอง มองข้ามความต้องการของตัวเองบ้าง แล้วดูว่าผู้อื่นต้องการอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรจากเราหรือไม่ เพราะการทำความดีโดยการช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ก็จะทำให้เรารู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ และมีความสุขตามด้วย
6 เคล็ดลับในการสร้างโอกาสการขอสินเชื่อแบบง่าย ๆ
การมีเครดิตดีทำอะไรก็ง่าย โดยเฉพาะเครดิตทางการเงิน ที่ยิ่งมีเครดิตดีมากเท่าไหร่ สุขภาพการเงินก็ดี และโอกาสในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการขอสินเชื่อเป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มาดูกันว่าถ้าอยากสร้างเครดิตให้ดีต้องทำอย่างไร มีเงินเข้า-ออกบัญชีอย่างประจำ สม่ำเสมอ เพื่อเป็นหลักฐานที่สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบได้ ว่าใน แต่ละเดือนมีรายรับและรายจ่ายเท่าไหร่ เป็นการสร้างเครดิตทางการเงินที่ดีเบื้องต้นไปในตัวด้วย และยังมีวินัยในการวางแผนการเงินที่ดี เปิดบัญชีออมเงินไว้แยกต่างหากการเปิดบัญชีเงินฝากแยกไว้อีกส่วนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งบัญชีนี้อาจจะเป็น เงินจำนวนหนึ่งที่มากกว่าฐานเงินเดือน จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในเรื่องของเครดิตทางการเงินได้ ลงทุน DCA อย่างต่อเนื่อง การ DCA หรือ Dollar-cost averaging เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยไม่ว่าจะเป็น กองทุน หรือหุ้น ในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันแต่ละเดือน ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้จะช่วยให้เห็นถึงวินัยทางการเงินเพราะเรามีการลงทุนอย่างเป็นประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลา การสร้างเครดิตทางการเงินที่ดี จะช่วยให้สถาบันการเงินเมองเห็นพฤติกรรมการใช้ จ่ายได้อย่างชัดเจนคือ ประวัติการชำระหนี้ได้ตรงเวลาหรือชำระก่อนครบกำหนด โดยเฉพาะผู้ที่มีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล จะทำให้เห็นวินัยทางการเงินตรงนี้มากขึ้น โอกาสในการขอสินเชื่อผ่านก็จะง่ายขึ้น ตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนดไว้