Image Alt

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ความเป็นมาของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • ปี 2560 โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 1 เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารเจ้าหนี้ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียว ธนาคารเจ้าหนี้ 16 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ มอบหมายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย ควบคู่กับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้านการลดความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และสร้างเสริมสุขภาพทางการเงินที่ดีให้แก่คนรุ่นใหม่ในสังคม นำไปสู่การลดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ปี 2562 โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 ขยายขอบเขตให้รวมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ non-bank 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกหนี้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ทำให้โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกในการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างกว้างขวางและครบวงจรอย่างแท้จริง
  • ปี 2563 โครงการคลินิกแก้หนี้เดินหน้าเข้าสู่ “ระยะที่ 3” โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2562 มาเป็นวันที่ 1 มกราคม 2563 และปรับเงื่อนไขจากเป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เมื่อช่วงปลายปี
  • ปี 2565 โครงการฯ ได้ปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2565 และปรับทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้เป็น 3 ทางเลือก
  • ปัจจุบันปี 2566 โครงการฯ ปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน

เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้กับเจ้าหนี้หลายราย โดยเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อให้มีโอกาสแก้ปัญหาหนี้ ควบคู่กับการส่งเสริมเรียนรู้การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้แก่ลูกหนี้และประชาชนที่สนใจ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว

คลินิกแก้หนี้ คือ หน่วยงานกลางที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้แทนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการทางการเงินทุกรายของลูกหนี้อย่างครบวงจร ภายใต้เกณฑ์และกรอบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสปลดหนี้สินล้นพ้นตัวได้ นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนให้มีการวางแผนและบริหารการเงินที่ดี เพื่อจะไม่ตกอยู่ในวังวนของการมีหนี้สินล้นพ้นตัวอีก

  1. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้แทนเจ้าหนี้สถาบันการเงินของลูกหนี้อย่างครบวงจร เพื่อช่วยให้ประชาชนมีโอกาสปลดภาระหนี้สินด้วยความสมัครใจ
  2. ปฎิบัติงานร่วมกับธนาคารเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ เงื่อนไขและแนวทางการปฏิบัติงานซึ่งทุกฝ่ายได้ตกลงเห็นชอบร่วมกัน
  3. ให้ความรู้ด้านการเงิน เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการหนี้สินของตนเองได้

หากลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายรายและต้องการปลดภาระหนี้สินทั้งสิ้น โครงการฯ จะช่วยหาแนวทางการชำระหนี้ตามความสามารถที่แท้จริงของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ได้ข้อยุติในคราวเดียว โดยจะมีโอกาสและความสะดวกมากขึ้น เพียงมาเจรจาที่คลินิกแก้หนี้ที่เดียว ก็เสมือนได้ติดต่อกับเจ้าหนี้ทุกรายแทนลูกหนี้ (One Stop Service) ซึ่งต่างจากที่ผ่านมา กรณีที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายและตั้งใจจะปลดภาระหนี้สินทั้งหมด ลูกหนี้จะต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้ทีละรายๆ จนครบทุกราย ซึ่งยากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะเจ้าหนี้แต่ละรายมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่แตกต่างกัน

เป็นโครงการนำร่อง โดยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีหนี้กับธนาคารหลายแห่งจึงเริ่มต้นช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้ก่อน

บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด SAM หรือ บสส. เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ภายใต้กำกับของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลัก SAM มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดำเนินงานบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Non-performing loan : NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (Non-performing asset : NPA) มาตั้งแต่ปี 2543 เป็นหน่วยงานรัฐ ที่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการคลินิกแก้หนี้ตามนโยบาย ด้วยทีมบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการดำเนินงานแก้ไขหนี้ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมากว่า 17 ปี

รายละเอียดคุณสมบัติ เงื่อนไขและประโยชน์ที่จะได้รับ

    1. เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี
    2. เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
    3. เป็นหนี้เสีย (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนปัจจุบันต้องมีสถานะค้างชำระตั้งแต่ 121-150 วันขึ้นไป)
    4. หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท

 

  1. ผ่านทางเว็บไซต์  www.debtclinicbysam.com หรือ www.คลินิกแก้หนี้.com
  2. ผ่านไปรษณีย์ ตู้ปณ.40 ปณฝ.ซันทาวเวอร์ส กรุงเทพฯ 10905
  3. ติดต่อที่ สำนักงานโครงการ
    1839, 1839/1, 1839/6 โครงการ ดิ อเวนิว รัชโยธิน ชั้น 4 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  4. ติดต่อที่ สาขาของ บสส. 4 สาขา
    – สาขาสุราษฎร์ธานี – 213/17 หมู่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
    – สาขาขอนแก่น – 381/46-47 หมู่ 17 ถนนมิตรภาพ  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
    – สาขาพิษณุโลก – 5/16-17 หมู่ 5 ถนนสิงหวัฒน์ ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
    – สาขาเชียงใหม่ – 109/4 ถนนเชียงใหม่-ลำปาง (ท.ล.11) กม.98.7 เทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
  5. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1443

Call Center เวลาทำการ 09.00 น. – 19.00 น.  ให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไม่เกิน 7-10 วันทำการ แต่หากลูกค้าไม่ได้รับการติดต่อกลับ ขอให้ลูกค้าโทร.มาที่ Call Center 1443 เพื่อสอบถามเพิ่มเติม

ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ชำระเฉพาะเงินต้นค้างชำระ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราผ่อนปรน 3-5% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระได้ไม่เกิน 10 ปี

ลูกค้าที่มีความสมัครใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการ วันที่ 1 มิ.ย. 60 เป็นต้นไป โดยจะต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการวิเคราะห์ รายได้ รายจ่าย แล้วมีเงินสดคงเหลือเพียงพอในการผ่อนชำระตามเงื่อนไข

จัดเตรียมเอกสารประกอบการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร

2. เอกสารการตรวจสอบข้อมูลภาระหนี้จากเครดิตบูโร โดย ลูกค้าสามารถขอข้อมูลเครดิตบูโรได้ที่ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร / เคาน์เตอร์ธนาคาร / ATM / Mobile App / ที่ทำการไปรษณีย์ไทย / Internet Banking

3. เอกสารแสดงรายได้

  • พนักงานประจำ
    1. สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 1 เดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  • อาชีพอิสระ
    1. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3 เดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ (ตามแบบฟอร์มแนบท้ายใบสมัคร)

เพื่อให้ทราบข้อมูลภาระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ โดยตรวจสอบได้ที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) หรือที่ธนาคารพาณิชย์ และที่สำนักงาน บสส. ค่าธรรมเนียมครั้งละไม่เกิน 150 บาท

ไม่ได้ชำระหนี้กับธนาคาร หรือ สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา หรือตามที่เจ้าหนี้ได้เรียกเก็บนานติดต่อกันมากกว่า 90 วันขึ้นไป จะถือว่าเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL : Non Performing Loan) หรือเรียกง่ายๆว่า “หนี้เสีย”

ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 บัญญัติให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องนำส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิก แต่เมื่อได้นำส่งในครั้งแรกแล้ว สถาบันการเงินนั้นต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นำส่งข้อมูล แต่ไม่ต้องขออนุญาตจากลูกค้า นอกจากนั้นสถาบันการเงินสมาชิกอาจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบในกรณีอื่นๆ

ต้องเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือ Non Bank ที่เข้าร่วมโครงการนี้เท่านั้น

13 ธนาคาร ดังนี้

– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด  (มหาชน)
– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารไอซีบีซี  (ไทย) จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารออมสิน

19 Non-bank ดังนี้

-บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
-บริษัท โลตัสส์ มันนี่ เซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
-บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
-บริษัท ยูโอบี แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด
-บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
-บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
-บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
-บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
-บริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัด
-บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
-บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
-บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
-บริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
-บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด

สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ

สามารถนำยอดหนี้บัตรเครดิตเฉพาะบัตรที่เป็นหนี้เสียทุกใบมาเข้าร่วมโครงการฯ และมียอดหนี้เงินต้นคงค้างไม่เกิน 2 ล้านบาท ส่วนหนี้บัตรเครดิตที่ดีอยู่ก็ยังสามารถใช้ต่อไปได้

ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการคลินิกแก้หนี้ที่กำหนดไว้

รับชำระเงินผ่านระบบ Bill Payment

  • แบบฟอร์มการชำระเงิน (Pay – in)
  • บัตรชำระเงิน (Payment Card)

ธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ค่าธรรมเนียม

  • ลูกหนี้เป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียม
    อัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10-35 บาท ขึ้นอยู่แต่ละธนาคาร

หลักฐานการชำระเงิน

  • ติดต่อรับใบรับเงินชั่วคราวจาก บสส.
  • ติดต่อรับใบเสร็จรับเงินจากธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้

ชำระเพิ่มในแต่ละงวดได้ แต่งวดถัดไปต้องชำระตามปกติและสามารถชำระปิดยอดเร็วกว่ากำหนดได้ โดยไม่มีค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

สามารถสมัครเข้าร่วมได้ โดยลูกค้าสามารถใช้เอกสาร “หนังสือรับรองรายได้” ที่อยู่ในชุดใบสมัคร เพื่อระบุแหล่งที่มา และจำนวนรายได้

ลูกค้าสามารถยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารทั่วประเทศได้ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
ธนาคารกรุงศรี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หรือสามารถหาข้อมูลและช่องทางการขอตรวจรายงานเครดิตบูโรได้ที่ www.ncb.co.th

ช่องทางในการยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโร
1. บริการตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (จุดบริการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ncb.co.th)
2.ตรวจเครดิตบูโรผ่าน Mobile Banking MyMo (ธนาคารออมสิน) / Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) / ttb touch (ธนาคารทีทีบี) / KKP Mobile
(ธนาคารเกียรตินาคินภัทร)
3. ตรวจเครดิตบูโรผ่าน Internet Banking ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย
4. ตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้เบิกเงินสด (ATM) ของธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
5. ตรวจเครดิตบูโรผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ธนาคารกรุงศริอยุธยา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6. ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th

หากลูกค้าเป็นหนี้เสียตรงตามคุณสมบัติ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้

กรณีที่ไม่มีรายได้จะไม่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขหรือคุณสมบัติในการผ่อนชำระหนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

เงื่อนไขการปฏิบัติตนขณะเข้าร่วม โครงการ

มีเงื่อนไขเพียงชำระค่างวดตรงตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และให้คำยืนยันไม่ก่อภาระหนี้เพิ่มในระยะเวลา 5 ปี นับจากเข้าร่วมโครงการ

มีผลทำให้สัญญาปรับโครงสร้างหนี้สิ้นสุดลง และต้องออกจากโครงการ และธนาคารเจ้าหนี้เดิม จะเป็นผู้ดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ต่อไป

ทราบได้จากใบรับเงินชั่วคราวที่ บสส. ออกให้ และธนาคารเจ้าหนี้จะออกใบเสร็จรับเงินต่อไป

พิจารณาเป็นกรณีตามเหตุจำเป็น โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ โครงการที่ดูแลเพื่อดำเนินการขอผ่อนผันตามแต่กรณี

จะมีข้อความแจ้งเตือนและมีการโทร.ติดตามจากเจ้าหน้าที่ แต่หากเป็นกรณีที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สัญญาฯ จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่โครงการ

ทางโครงการคลินิกแก้หนี้จะใช้ระยะเวลาในการจัดส่งใบรับเงินชั่วคราวหลังจากที่ลูกค้าชำระค่างวดแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ โดยหากยังไม่ได้รับเอกสารสามารถรแจ้งความประสงค์ขอรับไฟล์ใบรับเงินชั่วคราวได้ โดยยื่นคำร้องลงในสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุเดือนที่ต้องการขอสำเนาใบรับเงินชั่วคราวย้อนหลัง ระบุอีเมลที่ต้องการให้จัดส่ง แนบไฟล์และส่งมาที่อีเมล 1443sp@sam.or.th

ทางโครงการจะทำการจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าของโครงการทุกรายหลังวันที่ 10 ของทุกเดือน เฉพาะลูกค้าที่ชำระหลังวันที่ 10 ของเดือน

หากลูกค้าเป็นหนี้เสียตรงตามคุณสมบัติ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้

การขอหนังสือปิดภาระหนี้ หลังปิดบัญชีกับทางโครงการ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้ร้องขอไปยังเจ้าหนี้ที่อยู่ในสัญญาด้วยตนเอง ทางโครงการจะไม่สามารถออกหนังสือดังกล่าวให้ได้ เนื่องจากทางโครงการมิได้มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกค้า คงทำได้เพียงแจ้งยอดหนี้เป็นศูนย์ในใบรับเงินชั่วคราวงวดสุดท้าย

กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารหรือเปลี่ยนแปลงเบอร์ติดต่อ สามารถทำได้โดยการยื่นคำร้องโดยระบุที่อยู่ หรือเบอร์ติดต่อที่ต้องการเปลี่นแปลงลงบนสำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง แนบไฟล์เอกสารแล้วส่งมาที 1443sp@sam.or.th

ลูกค้าสามารถสมัครเพิ่มหนี้ได้โดยการกรอกใบสมัครพร้อมแนบเอกสารประกอบการสมัครให้ครบถ้วน (เหมือนการสมัครครั้งแรก) และเป็นหนี้เสียตรงตามคุณสมบัติ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยลูกค้าที่สมัครเพิ่มหนี้จะต้องไม่มีประวัติการค้างชำระกับทางโครงการ

กรณีจะถูกบอกเลิกสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับโครงการมีเงื่อนไข ดังนี้
1. สถานะบัญชีค้างชำระเกิน 90 วัน หรือค้างชำระมากกว่า 3 งวด
2. หลังได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการและลงนามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไม่ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับทางเจ้าหนี้ตามหมายนัดหมายศาล
3. ไม่ปิดบัญชีงวดสุดท้ายเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา
4. เจ้าหนี้แจ้งสงวนสิทธิให้ออกจากโครงการเนื่องจากผิดเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ,ถูกยึดทรัพย์ ,ผิดคำรับรองก่อหนี้ใหม่ ฯลฯ