การปรับตัวเองเพื่อก้าวผ่านความทุกข์ยาก
เราสามารถที่จะเรียนรู้ในการช่วยเหลือตัวเองให้ก้าวข้ามผ่านออกจากความทุกข์ยากนั้น โดยการปรับวิธีคิดและวิธีการที่เราจะสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเผชิญกับความทุกข์ยากที่เกิดขึ้น ทางจิตใจที่ทุกคนมีอยู่แต่อาจมีมากไม่เท่ากัน โดยการพัฒนาให้มีมากขึ้น ด้วยการปรับตัวเองดังต่อไปนี้
- การปรับความคิด ยอมรับความจริงว่าความทุกข์ยาก เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราที่ต้องมีการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความตาย การสูญเสียและ เหตุการณ์ร้ายแรง โดยเราสามารถ จัดการกับความคิดอัตโนมัติ เราควรปล่อยวางความคิดอัตโนมัติด้านลบเหล่านี้ โดยการฝึกสติสังเกตรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก เพื่อให้มีสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจของเรา ถ้าใจเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมารับรู้ลมหายใจใหม่ หรือฝึกสติรับรู้ว่ากายกำลังทำอะไร วิ่ง ยืน เดิน นั่ง หกล้ม ทำไปเรื่อยๆไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ จนรู้สึกว่าหลุดออกจากการหมกมุ่น ครุ่นคิดในเรื่องเดิมๆและรู้สึกผ่อนคลาย การฝึกดังกล่าวถือเป็นการฝึกกล้ามเนื้อแห่งการปล่อยวาง เพื่อช่วยให้เราหลุดออกจากวงจรของความคิดลบ การหมั่นฝึกฝนเป็นประจำจะช่วยให้เรามีทางเลือกในการออกจากความคิดลบได้ทุกขณะเมื่อเราต้องการ รวมถึงการมองโลกในแง่ดี จะช่วยให้เราจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ดีขึ้น ช่วยลดผลกระทบของความเครียดต่อสุขภาพกาย ทำให้เรายอมรับความเป็นจริงได้เร็วขึ้น
- การปรับอารมณ์ พูดระบายความรู้สึกทุกข์ใจออกมา อย่าพยายามเก็บกด โดยเราหาใครสักคน เช่น เพื่อน หมา แมว ตุ๊กตา ที่ยินดีและพร้อมที่จะรับฟังความรู้สึก เพราะการพูดเป็นสิ่งที่ดีต่อจิตใจคำพูดที่สอดแทรกความรู้สึกออกไปด้วยจะช่วยทำให้ความตึงเครียดทางอารมณ์ลดลง และควรรักษาอารมณ์ขันไว้ ถ้าเรายังสามารถหัวเราะ หรือยิ้ม กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ จะมีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดและความทุกข์เพิ่มขึ้น
3.การปรับการกระทำ พัฒนาความเข้มแข็งภายในตนเอง เชื่อมั่นว่าสามารถจัดการกับปัญหาภายในตนเอง ย่อมผ่านพ้นความทุกข์ยากได้ดีกว่า ที่มาจากคนอื่นหรือปัจจัยภายนอก จากการ เลือกใช้วิธีการในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม และสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตในเชิงรุกมากขึ้น มีแนวทางการแก้ปัญหามากขึ้น และรู้สึกควบคุมได้มากขึ้น จะทำให้เกิดความเครียดน้อยลง และยังสามารถรักษาความสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ดี รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง หรือหาความช่วยเหลือจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน สุขภาพจิตเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปได้ โดยการฝึกจิตใจให้คุ้นเคยกับการเผชิญกับความทุกข์ยากแสนสาหัสในชีวิต ไม่เคยพบมาก่อนหรือไม่มีแนวทางแก้ไขมา ก่อน และพยายามพัฒนานิสัยในการเอาชนะอุปสรรค เพื่อ ความยืดหยุ่นทางจิตใจจะช่วยให้เราผ่านพ้นช่วงสถานการณ์วิกฤตินั้น ๆ ไปได้ด้วยดี ด้วยจิตใจของเราที่สร้างขึ้นมาได้
https://nph.go.th/?p=5675/วันที่สืบค้น 2 มิ.ย.2566