บัญชีดำ หรือ Black List แค่คิดก็น่ากลัวจริงเหรอ ?
หากพูดถึงคำว่า Blacklist หลายคนคงจะมีนิยามกันแบบง่ายตามคำแปลก็คือ คำว่าบัญชีดำซึ่งก็หมายความว่ารายชื่อสีดำมันก็คือการถูกแบนในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดจากอะไรนั้นเรามาดูกัน
เกี่ยวกับเรื่องของการติด Blacklist ใครเป็นผู้นำชื่อเราเข้าในบัญชีดำกันแน่ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นสถาบันการเงินที่เราเคยขอสินเชื่อบ้าง บางคนก็อาจจะคิดว่าผู้ขึ้นบัญชีดำเป็นคนกลางอย่างบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด .หรือคนทั่วไปเรียกว่า เครดิตบูโร ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันนะครับ……
- เข้าใจคำว่า Black list
บัญชีดำ หรือ บัญชีลับ (อังกฤษ: Blacklist) คือ รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มสังคม ตัวอย่างเช่น รายชื่อลูกจ้างที่นายจ้างทั้งหลายร่วมมือกันไม่รับเข้าทำงาน ลูกจ้างที่มีชื่ออยู่ในบัญชีลับของนายจ้าง โดยทั่วไปเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน เป็นผู้นำแรงงานหรือหัวหน้าคนงานไม่เป็นทางการ
ในทางการเงินคือการมีประวัติเสียทางการเงิน จนถูกขึ้นบัญชีดำ และหลายคนจะคิดว่าการที่ สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อเป็นเพราะทางบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เป็นผู้ขึ้นบัญชีดำ ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บรักษา รวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ขึ้นบัญชีดำ อย่างที่เข้าใจกันหลายท่านเมื่อขอกู้เงินแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ อาจมาจากหลายเหตุผลอาทิ เช่น รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนดทำให้ไม่สามารถเพียงพอในการชำระหนี้ หรือข้อมูลประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อไม่ตรงตามเงื่อนไขของธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ดังนั้น เครดิตบูโรไม่ได้มีสิทธิในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่งในการพิจราณาสินเชื่อ
- ประวัติผ่อนไม่ดีเท่านั้นถึงจะเข้า เครดิตบูโร หรือ ความเชื่อที่ว่าค้างผ่อนชำระนานๆจะติด BlackList
บางท่านมีความเข้าใจว่า การที่ถูกสถาบันการเงิน ไม่ให้สินเชื่อเป็นเพียงสาเหตุเพราะ เครดิตบูโรขึ้นบัญชีดำเราควรทำความเข้าใจใหม่กันนะครับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่คือ การเป็นตัวกลางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเครดิต ซึ่งมีเพียงประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าเท่านั้น ตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น ซึ่งบริษัท ดังนั้นสาเหตุที่ สถาบันการเงินปฎิเสธการให้สินเชื่อเนื่องจาก บริษัทที่เป็นสมาชิกได้ตรวจสอบข้อมูล เครดิตบูโร ตัวอย่างเช่น ประวัติการค้างชำระเกินกว่า 90วัน,ประวัติการถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการเงิน หรือ ประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- แล้วทำอย่างไรละ ประวัติในข้อมูลเครดิตบูโร ไม่ดีจริง
ในกรณีประวัติในเครดิตบูโร มีการค้างชำระหรือมีการผิดนั้นชำระเกินหรือค้างชำระสะสม มากกว่าเราควรจะแก้ไขอย่างไร
1.ติดต่อกับสถานบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้
เพื่อที่จะเจรจาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น แต่ถ้าหนี้สินนั้นมีมูลหนี้มากสิ่งที่ต้องทำคือการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อปรับการผ่อนจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบัน เช่น การลดหนี้หรือลดจำนวนผ่อน ขยายระยะเวลาผ่อน ขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ก่อน และ พักชำระหนี้ชั่วคราว
2.เริ่มสร้างประวัติการผ่อนชำระใหม่
หลังจากที่เราเจรจากับเจ้าหนี้แล้วมีการปิดจบหนี้ ได้หลังจากนั้น 3 ปี ก็เริ่มสร้างวินัยทางการเงินที่ดี ชำระหนี้ให้ตรงเวลา และมั่นตรวจสอบสุขภาพทางการเงินจากเครดิตบูโร ทุก 6 เดือน เพราะทุกพฤติกรรมทางการเงินจะถูกจัดเก็บในข้อมูลอยู่ในข้อมูลเครดิตบูโร สุขภาพทางการเงินที่ดีหาซื้อไม่ได้อยู่ที่วินัยที่เราจะสร้างได้ด้วยตัวของเราเอง
ที่มา:
https://www.thaihometown.com/loans/5212/